ธนากร

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ความในใจที่มีต่อวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันสอนโดยท่านอาจารย์ เหมราช ธนะปัทม์



ความในใจที่มีต่อ อาจารย์เหมราช ธนะปัทม์ ( อาจาย์ผู้สอน )

กระผม นายธนากร ยางเลย 51011811285 เรียนกลุ่มที่ 2 วันอังคาร อยากบอกกับท่านอาจารย์ว่า อาจารย์สอนดีมาก เป็นกันเองกับเด็กนิสิตมากครับ เวลาสอนอธิบายให้นิสิตเข้าใจเป็นอย่างดี (แต่ก่อนผมเล่นคอม ทามไรเกี่ยวกับคอมไม่เป็นเลยสักอย่าง) พอมาเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันกับอาจารย์ มีมากมายที่ผมไม่รู้ ผมก็รู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลยล่ะครับ อาจารย์ใจดีมาก สอนละเอียดและพานิสิตทำไปพร้อมๆกับอาจารย์ นิสิตไม่เข้าใจ ทำไม่เป็น ยกมือขึ้น อาจารย์ก็เดินมา บอก ไม่บ่นว่าเหนื่อยหรือรำคายกับนิสิตที่ทำไม่ได้กับงานที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์เป็นไอดอลของผมเลยก้อว่าได้ในรูปแบบการเรียนการสอนครับ (ปลื้มสุดๆ) 

พิพิธภัณฑ์ มมส.

พิพิธภัณฑ์ มมส.

Attention, เปิดในหน้าต่างใหม่. พิมพ์อีเมล

พิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

         โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2542 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับพัฒนาการ ของสังคม  ตั้งแต่ยุคที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (พ.ศ.2511) จนถึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ.2517) และเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ.2537) รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมให้สังคมได้รับผลประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์ ทั้งในด้านการปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น การจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
        นอกจากนี้ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามยังทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนและจัดกิจกรรมสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคคลทั่วไป
สถานีศึกษาสัตว์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถานีศึกษาสัตว์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
      ผศ.ดร.ทวีศิลป์  สืบวัฒนะ ประธานโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย มหาสารคามได้มีดำริที่จะจัดตั้งสวนสัตว์ขนาดเล็กบนพื้นที่โดยรอบบริเวณโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือกับสวนสัตว์นครราชสีมาองค์กร สวนสัตว์ในพระบรามราชูปถัมภ์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสถานีศึกษาสัตว์จะมีสัตว์อยู่หลายชนิด อาทิเช่น กวางลูซ่า, ละมั่ง, เนื้อทราย, กวางดาว, นกยูง, นกแก้วมาคอร์ และยังมีสัตว์อื่นๆอีกในโครงการ เพื่อใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ สนับสนุนการศึกษาวิจัย และการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไปรวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชน สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจจากการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์บางประเภทด้วย
     ดังนั้นด้วยความร่วมมือจากนายสัตวแพทย์วรพล เองวานิช(อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีผลิตสัตว์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)  และอาจารย์อลงกต  แทนกองทอง (ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น)ได้เป็นธุระประสานงานกับทางสวนสัตว์นครราชสีมา โดยมีนาวาอากาศโทกระวี  กรีธาพล  เป็นผู้อำนวยการ เพื่อดำเนินการจัดตั้งสวนสัตว์มหาวิทยาลัยขึ้น  และได้ทำการเปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2548
     โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม  โดยตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของอาคารบรมราชกุมารี (สำนักอธิการบดี)
ที่ตั้งโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายในพื้นที่โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 8 ส่วน ดังนี้
            1. เรือนอีสานประยุกต์หลังใหญ่  ประกอบด้วย  สำนักงาน  ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมย่อย  ห้องรับรอง  คลังพิพิธภัณฑ์  หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
            2. เรือนอีสานประยุกต์หลังเล็ก  ประกอบด้วยนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน
            3. เรือนโข่ง  ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมืองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
            4. เรือเกย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
            5. เล้าข้าว  ตูบต่อเล้า จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตชาวลุ่มแม่น้ำชี
            6. เรือนผู้ไท  จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัชาวลุ่มแม่น้ำชี
            7. ลานกิจกรรม  เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง
            8. สถานีศึกษาสัตว์
 
พิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปรัชญา

         สร้างสำนึกในคุณค่า เพื่อสำนึกแห่งการพัฒนา
 
วิสัยทัศน์
        พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อปลูกจิตสำนึกในคุณค่าแห่งตัวตน และสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้านพิพิธภัรฑ์เพื่อการพัฒนาสังคม
พันธกิจ
         1. สื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับพัฒนาการของสังคม
         2. เป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมให้สังคมได้รับประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์ ทั้งในด้านการปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น และการจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
         3. สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา พิพิธภัณฑ์ศึกษา
         4. เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับนิสิต หน่วยงานในมหาวิทยาลัย และบุคคลโดยทั่วไป 

วัตถุประสงค์         1. เพื่อจัดแสดงนิทรรศการอันแสดงถึงพัฒนาการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เกิดขึ้น  ดำรงอยู่ และเปลี่ยนแปลงอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับพัฒนาการของสังคม
         2. เพื่อเป็นแหล่งศึกษารวบรวมและบริการองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์สำหรับสังคมโดยเฉพาะองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อท้องถิ่น
         3. เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น   ด้านประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา พิพิธภัณฑ์ศึกษา
         4. เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและจัดกิจกรรมต่าง ๆ  นิสิต หน่วยงานในมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ มมส. เปิดให้บริการห้องประชุม/สัมมนา และพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม
 แก่คณาจารย์ นิสิต และบุคคลทั่วไป
 
ประเภทขนาดความจุเวลาให้บริการหมายเหตุ
• ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 245 - 60ในเวลาราชการสามารถให้บริการ
• ลานกิจกรรม
200 - 300ในเวลาราชการตามวันและเวลา
ที่ผู้ใช้ต้องการ

โสตทัศนูปกรณ์
      ชุดเครื่องเสียง ,เครื่องฉายภาพ LCD Projector , Visualizer, Computer

งานทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ทุนการศึกษา
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านทุนทรัพย์แก่นิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงจัดให้มีทุนการศึกษาหลากหลายประเภทได้แก่
1. ทุนการศึกษารายปี นักศึกษาจะได้รับทุนจนกระทั่งสิ้นสุดปีการศึกษานั้นๆ โดยทุนจะมีมูลค่าแตกต่างกันออกไปตามจิตศรัทธาของเจ้าของทุน เช่น ทุนรายได้มหาวิทยาลัย ทุนเอสโซ่สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ทุกนักกิจกรรม ทุนภูมิพล ทุนมูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นต้น
2. ทุนการศึกษาต่อเนื่อง เป็นทุนที่นักศึกษาได้รับมากกว่าปีเดียว หรือได้รับจนสำเร็จการศึกษา เช่น ทุนบุญรอดเพื่อนิสิตนักศึกษา ทุนคุณหญิงอัมพร ฤชุพันธุ์ ทุนมูลนิธิชิน โสภณพนิช ทุนบริษัทกรุงไทยการไฟฟ้า ทุนเครือเจริญโภคภัณฑ์ ทุนเรียงความ เป็นต้น
3. ทุนการศึกษากู้ยืมที่ต้องชำระคืนโดยไม่คิดดอกเบี้ย เช่น กองทุนศาสตราจารย์ นายแพทย์อดุลย์-อรสา วิริยเวชกุล กองทุนเงินให้กู้ยืมฉุกเฉิน เป็นต้น
4. ทุนการศึกษากู้ยืมที่ต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ย ได้แก่ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)


มมส จัดพิธีมอบทุนการศึกษา ทุนธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)

กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดพิธีมอบทุนการศึกษา “ทุนธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)” เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เวลา 10.00 น. ณ อาคารพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทุนธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นทุนการศึกษาที่สนับสนุนนิสิตที่มีผลการเรียนดี แต่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นทุนประเภทต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตร จำนวน 1 ทุนๆ ละ 10,000 บาท และต้องเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 ไม่เคยได้รับทุนประเภทต่อเนื่องหรือทุนอื่นใดภายในปีการศึกษา 2556 ยกเว้นทุน กยศ. หรือ กรอ. พร้อมทั้งต้องมีความประพฤติเรียบร้อย และไม่เคยถูกลงโทษหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาโทษวินัยนิสิต

คุณสมบัติของผู้ขอทุนการศึกษา

  คุณสมบัติผู้สมัคร
          1.เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีของหลักสูตร ยกเว้นนิสิตชั้นปีแรกเข้า
          2.มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่  2.50 ขึ้นไป
          3.ไม่เคยถูกลงโทษ หรืออยู่ระหว่างการถูกลงโทษทางวินัยนิสิต 
          4.มีส่วนร่วมในกิจกรรมมหาวิทยาลัยและสังคม
          5.ขาดแคลนทุนทรัพย์ และไม่อยู่ในระหว่างการรับทุนการศึกษาต่อเนื่องประเภทให้เปล่าใด ๆ มาก่อน ยกเว้นทุนกยศ. กรอ. และทุนกู้ยืมประเภทต่าง ๆ
          หลักฐานประกอบการสมัคร
          1.รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ติดใบสมัคร (เครื่องแบบนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
          2.สำเนาบัตรนิสิตและสำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชน (หน้า-หลัง) จำนวน 1 ชุด
          3.สำเนาใบแสดงผลการเรียนเฉลี่ยสะสมของปีการศึกษาที่ผ่านมา
          4.สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
          สอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ งานประชาสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ 0-4375-4333-40
           (ดาวน์โหลดข้อความพิมพ์  60104758  แล้วส่ง SMS มาที่ 42644)
           ข้อมูล : คอลัมน์ “ทุนใหม่ล่าสุด”นิตยสารเรียนรอบโลก ฉบับที่ 003(392)
กีฬาสานสัมพันธ์ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหาสารคามและมหาวิทยาลัยกับสถาบันอื่นรวมถึงกีฬาสานสัมพันธ์น้องพี่เฉพาะมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (นำเสนอในรูปแบบวีดีโอ)


กีฬาสานสัมพันธ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


กีฬาสานสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์ ของนิสิตคณะแพทย์มหาวิทยาลัยพะเยาและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


กีฬาสานสัมพันธ์ MBS มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


กิจกรรมสานสัมพันธ์กีฬาสานสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามและมหาวิทยาลัยขอนแก่น


กีฬาสำเภาเกมส์ ของคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


กีฬา 5 วิทย์ ฉบับ ไอทีลูกทุ่ง คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


กีฬาสานสัมพันธ์ของภาควิชาคณิตศาสตร์ กีฬาภายในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงนามความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ดังนี้


คณะเทคโนโลยี มมส ร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศสิงคโปร์


ผู้บริหารคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชิตา มุ่งงาม คณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ บุญเที่ยง หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร พร้อมคณะ ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ทางด้านการจัดการหลักสูตร การพัฒนาผู้สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และหารือเพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และแนวทางการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตระหว่างคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม National University of Singapore (NUS) และNanyang Technology University (NTU) ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 29 กรกฏาคม 2556 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2556 การดูงานที่ National University of Singapore (NUS) ได้เข้าเยี่ยม Yale NUS College 



โดยได้เข้าแลกเปลี่ยนในเรื่องการจัดการเรียนการสอน และเยี่ยมชมการจัดพื้นที่อำนวยความสะดวกสำหรับนิสิตของมหาวิทยาลัย และ ที่ Nanyang Technology University (NTU) ได้เข้าเยี่ยมชมที่ National Institute of Education โดยได้เข้าทดลองใช้เครื่องมือการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย และห้องเรียนรู้ต่างๆสำหรับนิสิต


มมส ร่วมลงนาม MOU ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กับ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2556 เวลา 09.30 น. ณ ห้องนนทบุรี 1 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย รองศาสตราจารย์เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากรและกิจการสภามหาวิทยาลัย ผู้แทนรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับนายณรงค์ รัฐอมฤต เลขาธิการคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และอธิการบดี หรือผู้แทนของมหาวิทยาลัย สถาบัน นิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นสมาชิก ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย กว่า 27 แห่ง

เพื่อส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่และประสานให้เกิดการเสริมสร้างทัศนคติ ค่านิยม ในความซื่อสัตย์สุจริตในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายป้องกันและปราบปรามการทุจริตในกลุ่มคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษา ตลอดจนนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัด และเสริมเสริมบทบาทในการเฝ้าระวังและมีส่วนร่วมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ เพื่อให้มหาวิทยาลัย มีบทบาทในการส่งเสริมให้ทุหน่วยงานในสังกัดได้นำยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และดัชนีวัดคุณธรรมและความโปร่งใส ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมแก่คณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษา 

ตลอดจนนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัดให้กระบวนการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ปราศจากการทุจริต โดยหลักการและรายละเอียดของความร่วมมือมีดังนี้
  1. ประสานงานและให้ความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการป้องกันการทุจริต
  2. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม แก่ คณาจารย์ บุคลากร ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่รณรงค์ให้แก่ คณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษา และนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัด ตลอดจนประชาชนทั่วไป เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านการทุจริต และร่วมเป็นเครือข่ายป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  3. สนับสนุนการศึกษาวิจัย รวบรวมองค์ความรู้ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา
  4. ร่วมมือในการจัดการทำดัชนีวัดคุณธรรมและความโปร่งใส สำหรับมหาวิทยาลัยและดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ ตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  5. ร่วมกันจัดทำช่องทางการสื่อสาร เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในฐานะเครือข่ายความร่วมมือป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  6. ร่วมให้คำปรึกษา เสนอแนะแนวทาง รวมถึงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานความร่วมมือดังกล่าว
  7. พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรหรือกิจกรรมที่จะช่วยให้นิสิต นักศึกษา และนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัด มีทัศนคติค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบจากการทุจริตที่ส่งผลเสียหายต่อประเทศ



วันที่  11 ก.ค.  เวลา 16.30 น.   ณ  ห้องประชุม 2 ชั้น 4 อาคารบรมราชกุมารี  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยคณะพยาบาลศาสตร์  จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กับ Hyogo University (มหาวิทยาลัยเฮียวโก) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย  สมัปปิโต  อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และ รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี  รุจกรกานต์  คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ลงนามร่วมกับ

ศาสตราจารย์ทากาโนริ  มิอุระ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเฮียวโก และศาสตราจารย์อิชิโร่ มิยาเกะ  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยเฮียวโก)  สำหรับการลงนามในครั้งนี้  ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเฮียวโก คือ ศาสตราจารย์นิตตะ  ยูกิโกะ  และ นายอากิโนริ  มาซาฮิระ ได้ร่วมพบปะพูดคุยกับอธิการบดี  และคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์  มมส  เกี่ยวกับสาระสำคัญของการลงนามดังกล่าว  ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้ประสานความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการเรียนการสอนและการวิจัยในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ และนิสิตของทั้งสองมหาวิทยาลัย ต่อไป..
เมืองมหาสารคาม เป็นเมืองตักสิลา เมืองแห่งการศึกษา แม้คนที่อยู่ในเรือนจำฯ ก็ชื่อว่าเป็นประชากรส่วนหนึ่งที่หลงผิด ควรที่จะได้ฟื้นฟู จัดการศึกษาให้ครบทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับอุดมศึกษา ให้เป็นเรือนจำตักสิลา เรือนจำการศึกษา
ที่ผ่านมาการจัดการศึกษา เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมหาสารคาม จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประถม ม.ต้น ม.ปลาย หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดมหาสารคาม ได้เข้าไปจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นสาขาต่าง ๆ ให้ผู้ต้องขังมีวิชาชีพติดตัวไปเมื่อพ้นโทษ  รวมถึงการจัดการศึกษา ปวช.(เกษตรกรรม)  ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม
ปัจจุบันได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรเพื่อให้สถานศึกษาที่สำคัญในเมืองมหาสารคาม เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาอาชีพให้แก่ผู้ต้องขัง โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีโครงการเปิดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา  สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตมหาสารคาม ได้จัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว มวยไทย มวยสากลสมัครเล่น ตลอดถึงวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม จัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) เอกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
                         เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดทำพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการจัดการศึกษาดังกล่าวขึ้น ณ โรงแรมตักสิลา อ.เมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2549 โดยมีนายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานการลงนามข้อตกลงร่วมกับ 3 สถาบันการศึกษา คือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยท่านศาสตราจารย์นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล ราชบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม,    สถาบันการพลศึกษาวิทยาลัยเขตมหาสารคาม โดยท่านปรีชา เผือกขวัญดี รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษาฯ  และท่าน ดร.จำลอง วรรณโคตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม   มีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ  ภาครัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกันเป็นจำนวนมาก
                          สืบเนื่องจากการลงนามดังกล่าว นายกฤษณ์ วงษ์เวช ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม  ได้ประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เพื่อดำเนินการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการเปิดสอนวิชาชีพดนตรีโปงลาง  การเปิดสอนวิชาชีพศิลปะการวาดภาพ  การเปิดสอนวิชาชีพการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้าน และสินค้า OTOP ในรูปแบบดนตรีพื้นบ้าน จนเป็นรูปธรรม และได้รับวุฒิบัตรจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                          ส่วนในด้านการดำเนินการเปิดการสอนปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ 4 ปี ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ทางมหาวิทยาลัยได้พิจารณาดำเนินการตามความตกลงเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส และยกระดับการศึกษาให้แก่ผู้ต้องขัง  จนเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2550  ได้มีการประชุมระหว่าง 2 หน่วยงาน โดยเรือนจำฯ มีผู้บัญชาการเรือนจำฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม  ที่ประชุมมีรศ.ดร.พิศมัย ศรีอำไพ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานในที่ประชุม  และมีเจ้าหน้าที่คณะอาจารย์จากวิทยาลัยการเมืองการปกครองเข้าร่วมประชุม  มีมติให้สามารถเปิดการเรียนการสอนปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ 4 ปี ได้ และให้เรือนจำฯส่งรายชื่อผู้ต้องขังที่จะสมัครเรียนเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารบุคคลของมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียม ภาคเรียนละ 2,000 บาท ตลอดหลักสูตร ส่วนค่าหน่วยกิตลงทะเบียน นักศึกษาต้องชำระตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

                          ในด้านของเรือนจำฯ ได้เตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นสื่อการเรียนการสอน โต๊ะเก้าอี้ ห้องเรียน เครื่องโปรเจคเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา  เพื่อรองรับการเปิดเรียนอย่างเป็นทางการ ตลอดถึงมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัย การทำรั้วในแดนการศึกษา และจัดทำรั้วตลอดแนวทางเดินเข้า ออกของคณาจารย์  เพื่อสร้างความมั่นใจกับบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่จะเข้าไปทำการสอน จากการดำเนินการดังกล่าว มีผู้ต้องขังที่มีความสนใจสมัครเรียนเป็นจำนวนมาก แต่เรือนจำฯ ได้คัดเลือกผู้ที่มีความประพฤติดี สามารถชำระค่าใช้จ่ายในบางส่วนได้ จำนวน 18 คน และมีเจ้าหน้าที่เข้าศึกษาต่อร่วมด้วย จำนวน 17 นาย  โดยมหาวิทยาลัยได้กำหนดทำการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ในวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2550 นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในการดำเนินการจัดการศึกษาแก่ผู้ต้องขังโดยมหาวิทยาลัยระบบปิดแห่งแรก  และเป็นเรือนจำฯ แห่งแรกที่ดำเนินการเปิดโอกาสทางด้านการศึกษาให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำฯ ถือได้ว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เห็นความสำคัญของการให้โอกาสแก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสที่จะยกระดับการศึกษา ให้ประชาชนอีกกลุ่มในเมืองมหาสารคาม ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พร้อมที่เป็นพลดีมีประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคต 
ทำเนียบอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม
รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขตวาระการดำรงตำแหน่ง
1. ดร.สายหยุด จำปาทองพ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2512
2. รองศาสตราจารย์ ดร. บุญชม ไชยโกษีพ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517
มหาวิทยาลันศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม
รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขตวาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518
2. รองศาสตราจารย์ ชูเกียรติ มณีธรพ.ศ. 2518 (รักษาการ)
3. ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐพ.ศ. 2519
4. รองศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี เมืองนาโพธิ์พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2524
5. รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยะกาญจนพ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2526
6. ดร. ถวิล ลดาวัลย์พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2530
7. รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยะกาญจนพ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534
8. รองศาสตราจารย์ ดร. จรูญ คูณมีพ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536
9. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาดพ.ศ. 2537
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รายนามอธิการบดีวาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาดพ.ศ. 2538 (รักษาการ)
2. เภสัชกร ศาสตราภิชาน ดร.ภาวิช ทองโรจน์พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546
3. ศาสตราจารย์น นายแพทย์ อดุลย์ วิริยเวชกุลพ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ สมศักดิ์ จักรไพวงศ์พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 (รักษาการ)
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโตพ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน
ข่าวกับการประท้วงอธิการบดี มมส คนปัจจุบัน 

ล่าสุดวันที่ 29 ก.ค. เวลา 11.00 น.ที่ วิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตัวแทนนิสิตกว่า 50 คนรวมกันประท้วง นายศุภชัย สมัปปิโต อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคัดค้านการดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โดยนายอิทธิพล ไชยศรี ตัวแทนนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ปี 4  เปิดเผยว่า นิสิตได้รมตัวกันในวันนี้เนื่องด้วย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับหนังสือขอคัดค้านผลการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคัดค้านการแต่งตั้งนายศุภชัย สมัปปิโต ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาสารคาม เนื่องจากเห็นว่านายศุภชัยมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ถูกตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง มีพฤติกรรมร่วมกับฉ้อราษฏร์บังหลวง เป็นเหตุให้ข้าราชการเสียหาย ถูกตรวจสอบและชี้มูลความผิดจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักตรวจสอบพิเศษภาค 7 กรณีการก่อสร้างอาคารศึกษาศาสตร์ และกรณีการเบิกจ่ายค่าตอบแทนตำแหน่งอธิการบดีเกินจำนวนที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติโดยไม่มีระเบียบรองรับ 
นอกจากนี้กระบวนการสรรหาอธิการไม่โปร่งใส ไม่ชอบด้วยกฏหมายและขัดต่อมาตรา19  แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ .2537 และ 4 ข้อ บังคับหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ .2538 เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาแล้วเห็นด้วยให้สภาวิทยาลัยมหาสารคามพิจารณาและตรวจสอบเรื่องร้องเรียนดังกล่าวให้ได้ข้อยุติ และแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบเพื่อให้ประกอบการพิจารณาเสนอแต่งตั้งโปรดเกล้าต่อไป
กระผมนำเสนอภาพข้างบนนี้ออกมาเพื่อ ทราบวัตถุประสงค์ของการประท้วงอธิการบดีของนิสิต มมส จึงอยากให้ อธิการบดี มมส เข้ามาชี้แจงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ภาพนี้จะไม่เป็นภาพลักษณ์ของ มมส แต่ลูกๆทุกคนรวมถึงกระผม ก็ไม่อยากให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นครับ 

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมสืบสานประเพณีไทย


มมส.สืบสานประเพณีสงกรานต์ (ปีใหม่ไทย)


มมส. สืบสานประเพณีลอยกระทง



มมส. ร่วมสืบสานประเพณีเวียนเทียนมาฆบูชา



มมส. สืบสานประเพรีบุญเดือน 9



มมส. สืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ



มมส. มนัสการพระธาตุนาดูน ร่วมสืบสานประเพณีเดือน 12



มมส.สืบสานประเพณีบุญทอดเทียน