แนะนำคณสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์
แนะนำคณะสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ในคณะสถาปัตย์เค้าเรียนอะไรกัน
น้องๆคงอยากจะรู้ว่าคณะนี้เรียนจบออกไปแล้ว จะสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ก่อนอื่นพี่ขออธิบายก่อนว่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นั้นแบ่งออกได้เป็น 5 สาขา คือ
1. สาขาสถาปัตยกรรม ( ARCHITECTURE )
2. สาขาสถาปัตยกรรมภายใน ( INTERIOR )
3. สาขาออกแบบอุตสาหกรรม ( INDUSTRIAL DESIGN )
4. สาขาภูมิสถาปัตยกรรม ( LANDSCAPE )
5. สาขาสถาปัตยกรรมไทย ( THAI ARCHITECTURE )
คราวนี้ มาดูกันว่าแต่ละสาขาเค้าเรียนอะไรกันบ้าง สาขาแรก สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศึกษาการออกแบบอาคารตั้งแต่บ้านพักอาศัยจนกระทั่งถึงหมู่ตึกสูงขนาดใหญ่ การเรียนจะเน้นการออกแบบสถาปัตยกรรม การเขียนแบบ และวิชาโครงสร้าง อีกทั้งยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ของประเทศไทยและวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมของผู้ใช้อาคาร เรียกได้ว่าไม่เพียงแต่ที่จะต้องรู้จัก ความสวยงามทางการออกแบบแล้วยังต้องรู้ถึงสภาพแวดล้อมและพฤติกรรม ของผู้ใช้อาคารนั้นๆด้วย ผู้เรียนจะต้องมีหัวคำนวณอยู่บ้าง เพราะใช้ค่อนข้างเยอะ ในวิชาโครงสร้าง สายนี้ค่อนข้างเน้นวิชาการมากกว่าสายอื่นๆ แต่ ART ก็เน้นมากพอตัว เรียนหนัก เพราะแทบจะเรียนไปหมดทุกอย่าง บางคนจบมาไปเป็นครีเอทีพ ทำงานโฆษณาก็ยังได้ ส่วนที่เห็นว่าสายสถาปัตย์ จบมาแล้วสามารถไปประกอบอาชีพต่างๆ ได้นั้นเป็นเพราะว่าสายสถาปัตย์หรือศิลปกรรม มีการเรียนการสอนที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันคือสอนให้ รู้จักวิธีใช้ความคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับความงามทางศิลปะ จึงทำให้คนที่เรียนมาทางด้านนี้สามารถออกไปทำได้หลายอาชีพสาขาสถาปัตยกรรมภายในหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า INTERIOR DESIGN มีคนถามกันมาก ว่าแตกต่างจากคณะมัณฑนศิลป์ สาขาออกแบบภายในที่ศิลปากรอย่างไร โดยข้อเท็จจริง แต่ละมหาวิทยาลัยก็มีวิชาเรียนปลีกย่อยที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้จุดหลักๆที่ มัณฑนศิลป์ แตกต่างจากสถาปัตยกรรมก็จะอธิบายดังนี้ ที่มัณฑนศิลป์ จะเน้นพวกรายละเอียดของตกแต่งเช่นพวกโต๊ะ ตู้ เตียง เฟอร์นิเจอร์ ต่างๆ ส่วนสถาปัตยกรรม เพิ่มพวกวิชาโครงสร้างเข้ามาด้วย เวลาเรียนก็จะนานกว่าของมัณฑน ทั้งนี้โอกาสในการประกอบอาชีพจะค่อนข้างเหมือนกันทุกประการ แต่สถาปัตยกรรมจะสามารถเซ็นแบบก่อสร้างบ้าน ได้ไม่เกิน 4ชั้น ส่วนมัณฑนศิลป์ไม่สามารถทำได้ ส่วนเนื้อหาการเรียนก็จะเน้นวิชาโครงสร้าง พฤติกรรมผู้ใช้พื้นที่ และสัดส่วนเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงงานทางด้านสถาปัตยกรรมโดยรวมด้วย คุณสมบัติของผู้ที่จะศึกษาทางด้านนี้ควรจะเป็นคนที่ชอบเฟอร์นิเจอร์ ชอบตกแต่ง สามารถอ่านแบบได้ เขียนแบบได้ สามารถคุมช่างก่อสร้างได้ สามารถแก้ไขปัญหาหน้างานก่อสร้างได้ดี และก็เช่นเดียวกันกับสาขาสถาปัตยกรรม คือสามารถประกอบอาชีพ อื่นอีกได้ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ สาขาออกแบบอุตสาหกรรมหรือศิลปะอุตสาหกรรม สาขายอดฮิตในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เป็นสาขาของคนที่ชอบออกแบบเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้แบบมีDESIGN ซึ่งก็จะพอแยกออกเป็นวิชาย่อยๆได้ดังนี้ (ต้องเรียนหมด)• การออกแบบผลิตภัณฑ์ • การออกแบบเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งภายใน • การออกแบบเครื่องปั้นดินเผา • การออกแบบลายผ้า • การออกแบบกราฟฟิค โดยสาขาย่อยๆที่กล่าวมาจะต้องเรียนให้ครบทุกสาขาแล้วค่อยเลือกทำวิทยานิพนธ์ ในสาขาที่ตนเองสนใจในตอน ปี 5 เป็นสาขาที่เรียนค่อนข้างหนัก และมีวิชาปฏิบัติมาก ดังนั้นน้องๆจึงควรทำความรู้จักในสาขานี้ให้ดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยเลือก เพราะต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า สาขานี้ เซ็นแบบไม่ได้ เพราะไม่ใช่ สถาปนิก และสาขานี้ก็มีความคล้ายคลึงกับสาขาทางสายศิลปกรรมและมัณฑนศิลป์ ซึ่งจะใช้เวลาเรียนน้อยกว่า 1 ปีและมีฐานเงินเดือนใกล้เคียงกัน โอกาสในการประกอบวิชาชีพ • Furniture Designer • Interior Designer • Exhibition&Event&Stage Designer • Graphic Designer • Animator • Art Director • Textile Designer • Ceramics Designer • Product Designer สาขาภูมิสถาปัตยกรรม Landscape Architect จะมีหน้าที่ออกแบบ Environmental Architect คือมีหน้าที่ออกแบบ Outdoor Space อย่าง Projects ออกแบบสวนสนุก หรือสวนสาธารณะ งาน Scale ขนาดนี้ Landscape จะต้องเป็นคนวางMaster Plan ซึ่งสถาปนิกจะทำหน้าที่ออกแบบอาคาร ส่วนการตกแต่งด้านในก็จะเป็นหน้าที่ของ Interior และพื้นที่ด้านนอกทั้งหมด รวมถึงโครงสร้างสะพาน เครื่องเล่น เฟอร์นิเจอร์ภายนอก ทั้งหมดนี้จะเป็นหน้าที่ของ Landscape อีกทั้งยังจะต้องทำหน้าที่เลือกต้นไม้ และวิเคราะห์ว่าต้นใดจะสามารถปลูกตรงไหนได้ และให้ประโยชน์อะไรบ้าง รวมถึงงานสระน้ำขนาดใหญ่ด้วย คุณสมบัติของผู้ที่จะเรียนสาขานี้คือ เป็นคนที่ชอบการวางผัง เป็นคนที่ชอบและรักต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นต้นเล็กต้นใหญ่ รักธรรมชาติ และเข้าใจถึงวิทยาศาสตร์และสถาปัตยกรรม โอกาสในการประกอบอาชีพ ปัจจุบันสาขานี้กำลังเป็นที่ต้องการในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่สาธารณรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีการสร้างเมืองใหม่อยู่ ส่วนสายงานโดยตรงคือเป็น ภูมิสถาปนิก และสามารถผันตนเองไปประกอบวิชาชีพอื่น ได้เหมือนสาขาวิชาชีพอื่นๆ ดังที่กล่าวมาแล้วสาขาสถาปัตยกรรมไทยคล้ายๆสถาปัตยกรรม แต่จะเจาะลึกลงไปเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทยทั้งลวดลายและโครงสร้าง ถ้าชอบอะไรที่มันไทยๆละก็ สาขานี้เลยไม่ผิดหวัง ได้เที่ยวบ่อยด้วย สถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม
1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สาขาสถาปัตยกรรม
- สาขาสถาปัตยกรรมภายใน
- สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม
- สาขาภูมิสถาปัตยกรรม
- สาขาสถาปัตยกรรมไทย
2.มหาวิทยาลัยศิลปากร
- สาขาสถาปัตยกรรม
- สาขาสถาปัตยกรรมไทย
3.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สาขาสถาปัตยกรรม
- สาขาภูมิสถาปัตยกรรม
4.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สาขาสถาปัตยกรรม
- สาขาสถาปัตยกรรมไทย
5.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-สาขาสถาปัตยกรรม
6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด )
- สาขาสถาปัตยกรรม
- สาขาสถาปัตยกรรมภายใน
- สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม
( หลักสูตรภาษาอังกฤษทุกสาขา )
7.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-สาขาสถาปัตยกรรม
-สาขาสถาปัตยกรรมภายใน
-สาขาวิชาการผังเมือง (วิทย์)
-สาขาวิชาการผังเมือง (ศิลป์-คำนวณ)
8.มหาวิทยาลัยนเรศวร
-สาขาสถาปัตยกรรม
9.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สาขาสถาปัตยกรรม
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเมืองและชุมชน
10.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สาขาสถาปัตยกรรม
- สาขาสถาปัตยกรรมภายใน
- สาขาศิลปอุตสาหกรรม
11.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- สาขาสถาปัตยกรรม
- สาขาสถาปัตยกรรมภายใน
- สาขาศิลปอุตสาหกรรม
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น